วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552

สาระสำคัญ

1. การสื่อความหมาย เป็นการส่งผ่านข่าวสาร เนื้อหา ทัศนคติ จากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง องค์ประกอบของการสื่อความหมาย จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 4 ส่วน ได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร ช่องทางและผู้รับสาร
2. การสื่อความหมาย เป็นลักษณะการเชื่อมโยงองค์ประกอบหลายส่วน ที่จะทำให้การส่งผ่านข่าวสารไปถึงผู้รับ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการสื่อความหมายมีลักษณะเป็นกระบวนการ ในระหว่างการสื่อความหมาย จะมีสิ่งที่ทำให้การสื่อความหมายขาดประสิทธิภาพ สิ่งนั้นเรียกว่าอุปสรรค
3. สื่อการสอนเป็นสิ่งที่ผู้สอนนำไปใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธ
4. ในการใช้สื่อการสอน ผู้สอนจะต้องรู้จักเลือกสื่อการสอน เตรียมการใช้สื่อให้ถูกต้อง และมีการติดตามผลการใช้สื่อ
5. สื่อการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และทำให้เนื้อหามีความหมายต่อผู้เรียนมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาของผู้เรียน และช่วยแก้ไขข้อจำกัด ทางกายภาพของเนื้อหาให้อีกด้วย

จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม

1. สามารถอธิบายความหมายและองค์ประกอบของการสื่อความหมาย
2. สามารถอธิบายกระบวนการสื่อความหมาย และยกตัวอย่างอุปสรรคในการ สื่อความหมายได้3. บอกความหมายของสื่อการสอน และจำแนกประเภทของสื่อการสอนได้
4. สามารถจัดลำดับประสบการณ์
ตามรูปแบบของเอ็ดการ์ เดล ได้ถูกต้อง
5. เมื่อให้ชื่ออุปกรณ์ 10 อย่าง ผู้เรียนสามารถชี้ให้เห็นว่าอยู่ในลำดับใดของกรวยประสบการณ์
6. สามารถบอกหลักการใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพได้ถูกต้อง โดยอธิบายแต่ละขั้นตอนได้
7. เปรียบเทียบประโยชน์ของการใช้และไม่ใช่สื่อการสอนว่ามีผลต่อการเรียนการสอนได้ถูกต้อง

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อความหมาย

การสื่อความหมาย (Communications) หมายถึง การถ่ายทอดข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด จากผู้ส่งไปยังผู้รับ หรือจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่น ๆ ให้เกิดความรู้สึก ความเข้าใจตรงกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันการสื่อความหมายมีลักษณะเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
3.1.1 ผู้ส่งสาร (Sender) คือผู้ที่สื่อความหมายไปยังผู้รับ
3.1.2 สาร (Message) คือ เรื่องราวข้อมูล ที่ผู้ส่งสารต้องการให้ผู้รับเกิดพฤติกรรมตามที่ต้องการ
3.1.3 สื่อหรือช่องทาง (Channel) เป็นตัวที่ทำให้เนื้อหาสาระ มีรูปร่างลักษณะที่เหมาะสมกับการไปถึงผู้รับสารได้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน รูปภาพ ท่าทาง สัญลักษณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือ เป็นต้น
3.1.4 ผู้รับสาร (Receiver) ผู้รับสารที่ผ่านมาโดยใช้ประสาทสัมผัส ทางใดทางหนึ่งในการรับ เช่น ตามองดู หูรับฟัง เป็นต้น

กระบวนการสื่อความหมาย และอุปสรรคในการสื่อความหมาย

กระบวนการสื่อความหมาย (Communication Process) เพื่อให้การสื่อความหมายบรรลุตามวัตถุประสงค์นั้น สิ่งที่สำคัญคือ ต้องอาศัย ความรู้ ประสบการณ์ของผู้ส่งสาร และผู้รับสารที่ใกล้เคียงกัน หรือมีปัจจัยพื้นฐานร่วมกัน (Common factor) ซึ่งได้แก
- ระบบสังคม
- ระดับการศึกษา
- วัฒนธรรม
- อาชีพ
- ฐานะทางเศรษฐกิจ
- ถิ่นที่อยู่
- เพศ/อายุ
- ความปกติทางร่างกาย

กระบวนการสื่อความหมาย และอุปสรรคในการสื่อความหมาย

กระบวนการสื่อความหมาย (Communication Process) เพื่อให้การสื่อความหมายบรรลุตามวัตถุประสงค์นั้น สิ่งที่สำคัญคือ ต้องอาศัย ความรู้ ประสบการณ์ของผู้ส่งสาร และผู้รับสารที่ใกล้เคียงกัน หรือมีปัจจัยพื้นฐานร่วมกัน (Common factor) ซึ่งได้แก
- ระบบสังคม
- ระดับการศึกษา
- วัฒนธรรม
- อาชีพ
- ฐานะทางเศรษฐกิจ
- ถิ่นที่อยู่
- เพศ/อายุ
- ความปกติทางร่างกาย

สื่อการสอนและประเภทของสื่อการสอน

3.3.1 ความหมายของสื่อการสอน สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี สื่อที่ใช้ในการสอนนี้ อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น
- วัตถุสิ่งของตามธรรมชาติ
- ปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ
- วัตถุสิ่งของที่คิดประดิษฐ์หรือสร้างขึ้นสำหรับการสอน
- คำพูดท่าทาง
- วัสดุ และเครื่องมือสื่อสาร
- กิจกรรมหรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ
3.3.2 ประเภทของสื่อการสอน ในทางเทคโนโลยีการศึกษา สามารถจำแนกประเภทของสื่อการสอน ได้ดังนี้
1) เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware) ได้แก่ สื่อประเภทที่ใช้กลไกทาง อิเล็กทรอนิกส์ และไฟฟ้า เช่น เครื่องฉาย เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2) วัสดุ (Software) ได้แก่ สื่อประเภทที่มีลักษณะ ดังนี้ - ใช้ควบคู่กับเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น ฟิล์ม แผ่นโปร่งใส สไลด์ เทป ฯลฯ - ใช้ตามลำพังของตนเอง เช่น กระดาษ รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก หนังสือ ฯลฯ
3) วิธีการ (Techniques or Methods) ได้แก่ กระบวนการหรือกรรมวิธี ซึ่งใน บางครั้ง อาจต้องใช้วัสดุ และเครื่องมือประกอบกัน เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ได้แก่ การแสดงละคร การเชิดหุ่น การสาธิต การศึกษานอกสถานที่ การจัดนิทรรศการ การใช้คอมพิวเตอร์ ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น
เอ็ดการ์ เดล
ได้จำแนกสื่อประเภทของสื่อการสอน โดยแบ่งตามประสบการณ์การเรียนของผู้เรียน จากรูปธรรม นามธรรม และจัดประเภทของสื่อการสอน ตามลำดับของการเกิดประสบการณ์ ในรูปสามเหลี่ยมที่เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)

ตัวอย่างสื่อการเรียนการสอนต่างๆ

























ขอบคุณรูปภาพสวยๆจากนักศึกษาปฐมวัย2

หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน

การใช้สื่อการสอน เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเลือกสื่อการเรียนการสอน มีแนวทางดังนี้
1.1 ความสัมพันธ์กับหลักสูตร/เนื้อหาวิชา โดยพิจารณาจากความสอดคล้องกับ จุดประสงค์ และผู้เรียน เหมาะกับเวลา สถานที่และน่าสนใจ
1.2 ความสัมพันธ์กับคุณภาพทางเทคนิค โดยคำนึงถึงความทันสมัยราคา ความปลอดภัย
1.3 ความสัมพันธ์กับครูผู้ใช้ โดยเน้นในเรื่อง ความรู้จัก ทักษะ การใช้ความ เข้าใจสื่อที่ใช้เป็นอย่างดี

ขั้นตอนที่ 2 ขั้นเตรียมการใช้สื่อการสอน
2.1 เตรียมครูผู้สอน
2.2 เตรียมผู้เรียน
2.3 เตรียมสถานที่
2.4 เตรียมสื่อ

ขั้นตอนที่ 3 ขั้นแสดงสื่อการสอนในชั้นเรียน โดยดำเนินการในด้าน
3.1 ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
3.2 ใช้ในเวลาที่เหมาะสม
3.3 สังเกตการตอบสนองของผู้เรียน

ขั้นตอนที่ 4 ขั้นติดตามผล
4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการใช้สื่อ
4.2 ผลการใช้สื่อ เพื่อปรับปรุงและพัฒนา